การรับมือประกันที่พ่วงมากับสินเชื่อเงินกู้

2017/02/27 13:39 PM

4,072 Views

อาจกล่าวได้ว่าแหล่งเงินกู้ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายจริง ๆ ทั้งเงินกู้ในระบบอย่างพวกสินเชื่อเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต แม้กระทั่งบัตรกดเงินสดก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของเงินกู้ในระบบ กับอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่าเงินกู้นอกระบบจะมีตั้งแต่การยืมเงินจากคนรู้จัก ไปจนถึงพวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีป้ายติดอยู่ตามกำแพงและเสาไฟฟ้า

เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนที่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง มีสวัสดิการต่าง ๆ ครบครันแล้ว คงจะไม่อยากเอาตัวเองไปเสี่ยงกับเงินกู้นอกระบบเป็นแน่ เพราะฉะนั้น เวลาที่ต้องมีกิจกรรมกู้เงินเพื่อมาทำอะไรสักอย่าง เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจะเลือกกู้เงินจากในระบบมากกว่า เว้นเสียแต่ว่าการกู้เงินในระบบเกินโควตาไปแล้ว จึงจะไปกู้จากนอกระบบ

ทีนี้ ผู้ที่กำลังใช้บริการเงินกู้ในระบบหลายคนคงจะเบื่อกับการเสนอขายประกันที่มักพ่วงมากับการทำสินเชื่อเสมอ บางทีแอบคิดในใจว่าแค่สินเชื่อเงินสดก็แทบจะใช้หนี้กันไม่หวาดไม่ไหวอยู่แล้ว นี่ยังจะมาเสนอขายประกันอีกเหรอ ในบางสินเชื่อเงินกู้ถึงกับมีข้อกำหนดไว้เลยว่าต้องทำประกันพ่วงด้วยเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะไม่ออกเงินให้และที่สำคัญ พนักงานธนาคารก็มักจะเสนอสินเชื่อแบบที่มีประกันพ่วงให้แทบทั้งนั้น ในธนาคารบางแห่งถึงกับโกหกลูกค้ากันเลยว่าสินเชื่อแบบธรรมดาหมด ต้องซื้อแบบที่มีประกันพ่วงด้วยเท่านั้น มนุษย์เงินเดือนหลายคนที่อยากจะได้สินเชื่อเงินกู้ แต่ต้องล้มเลิกก็เพราะถูกเสนอขายประกันเช่นนี้แหละ

เพราะฉะนั้น เราจะมาคิดหาวิธีรับมือกับพวกประกันทั้งหลายที่มักจะแถมมากับสินเชื่อ โดยที่ผู้กู้ไม่ได้ต้องการกัน เพื่อที่สินเชื่อจะได้รับการอนุมัติ โดยที่ไม่มีของแถมติดมาให้วุ่นวายใจ

วิธีรับมือข้อแรก เมื่อจะขอซื้อสินเชื่อ คือ ออกตัวกับพนักงานไปก่อนเลยว่าต้องการสินเชื่อเงินกู้แบบทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีประกันพ่วง ถ้าเป็นพนักงานที่ไม่ใช่สายพนักงานขายจะรู้ทันที แล้วก็นำสินเชื่อแบบที่ไม่มีประกันพ่วงมาให้เลือก ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ถือว่าการซื้อสินเชื่อเงินกู้ประสบความสำเร็จ แต่ประเด็นคือเราจะได้เจอพนักงานที่พูดรู้เรื่องอย่างนี้ไม่มากนัก ส่วนมาก พนักงานมักจะตื๊อต่อ โดยถามว่าทำไมคุณถึงไม่เอาสินเชื่อที่มีประกันล่ะ พร้อมกับพูดโน้มน้าวสารพัด อันนี้ก็จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนต่อมาหากพนักงานยังตื๊อ ขายสินเชื่อที่มีประกันพ่วงต่อ ขอให้ผู้ที่กำลังเจอสถานการณ์นี้ อย่างเพิ่งรีบโวยวายให้ค่อย ๆ ชี้แจงไปก่อน อาจจะยกเหตุผลมาว่าตอนนี้มีประกันหรือสวัสดิการที่ทำหน้าที่แทนประกันได้หมดแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อสินเชื่อที่มีประกันอีก ถ้าเป็นพนักงานที่ไม่ใช่นักขายตัวยง เขาจะเข้าใจแล้วก็ไม่เซ้าซี้อีก แต่ถ้าเป็นพนักงานขายตัวยง อาจจะเจอมุขประมาณว่าถ้าไม่ทำให้ตัวเองก็ทำไว้ให้ลูกก็ได้หรือไม่ก็โบ้ยว่า สวัสดิการที่อยู่นั้นดีไม่มากพอมาทำประกันดีกว่า บางคนอาจจะมีแถไปถึงเรื่องรัฐบาลว่าสถานการณ์ทางการเมืองไม่มั่นคง สวัสดิการทุกวันนี้อาจจะยังได้อยู่ แต่ถ้าในอนาคตล่ะ อาจจะไม่ได้ก็ได้ เมื่อถึงตอนนี้ ผู้ที่จิตอ่อน อาจจะคล้อยตาม ขอบอกว่าอย่าคล้อยตามโฆษณาชวนเชื่อพวกนี้เด็ดขาดให้รับฟังไปและเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 3 ถ้าเกิดยังถูกตื๊อให้ซื้อสินเชื่อแบบมีประกันพ่วงไม่เลิกให้ปฏิเสธแบบนุ่มนวล แต่หนักแน่นไปอีกทีว่า อย่างไรเราก็ยังยืนยันคำตอบเดิม ว่าไม่ซื้อและไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ หากจะซื้อเดี๋ยวจะบอกเอง แต่ตอนนี้เราต้องการสินเชื่อแบบไม่มีประกันพ่วงเท่านั้น เมื่อพูดถึงขนาดนี้แล้วไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับไหนก็คงจะไม่ตื๊อให้ซื้ออีก เว้นเสียแต่พนักงานที่อยากทำยอดขาย ท่านอาจจะเจอพนักงานที่ขุดท่าไม้ตายขึ้นมา ว่าสินเชื่อเงินกู้แบบธรรมดาหมดต้องซื้อแบบที่มีประกันพ่วงเท่านั้น พนักงานพวกนี้มักจะเชื่อว่าถ้าลูกค้าไม่มีทางเลือก อย่างไรก็ต้องซื้อ

เพราะฉะนั้น ถ้ามาถึงขั้นนี้เราก็ต้องพิสูจน์ว่าต่อให้ไม่มีสินเชื่อธรรมดา เราก็ไม่คิดจะซื้อสินเชื่อที่มีประกัน ด้วยการปฏิเสธไปว่าถ้าเกิดสินเชื่อเงินกู้แบบไม่มีประกันพ่วงนั้นไม่มีจำหน่าย อย่างนั้นวันนี้เราก็จะยังไม่ซื้อแล้วขออภัยพนักงานไป จากนั้นก็เดินถอยออกมา แล้วไปหาสินเชื่อเงินกู้จากธนาคารอื่นที่ให้ผลตอบแทนดี ไม่มีประกันพ่วงหรือไม่ก็รอวันอื่น แล้วกลับมาธนาคารเดิม เชื่อว่าถ้าเจอพนักงานขายคนอื่น การซื้อสินเชื่อที่ไม่มีประกันพ่วงก็น่าจะสามารถทำได้อย่างง่ายไม่ถูกตื๊อขายสินเชื่อมีประกันอีก

สุดท้ายนี้ อยากจะฝากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสินเชื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ตามว่าสินเชื่อดี ๆ ที่ไม่มีของแถมติดมาให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มยังมีอยู่อีกมาก หากว่าลูกค้าคนใดอยากซื้อสินเชื่อที่มีประกันเขาจะซื้อเอง อย่าพยายามยัดเยียดสินเชื่อแบบมีประกันให้ลูกค้าที่เขาไม่ต้องการเลย เพราะถึงแม้ธนาคารจะสามารถทำยอดได้สำเร็จ แต่ชื่อเสียงของสถาบันทางการเงินนั้น ๆ ก็จะดรอปลงและกลายเป็นว่าทำให้คนไทยมีความรู้สึกแง่ลบกับประกันยิ่งขึ้นไปอีก และหากผู้ใดที่กำลังถูกเชียร์ขายสินเชื่อเงินกู้พ่วงประกันอยู่ต้องรู้จักปฏิเสธหากไม่ต้องการ อย่าเกรงใจเพราะอาจจะเป็นการเพิ่มหนี้สินให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัวได้

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ซิตี้ เรดดี้เครดิต (Citi Ready Credit)Citi Ready Credit

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    24-25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี

บัตรเครดิต

  • ซิตี้ รีวอร์ด (Citi Rewards)Citi Rewards

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี*
    อายุคะแนนสะสม
    ไม่มีวันหมดอายุ
  • ซิตี้ แคชแบ็ก (Citi Cashback)Citi Cashback

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี*
    อายุคะแนนสะสม
    ไม่มีวันหมดอายุ
  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน