วิธีใช้บัตรกดเงินสดให้ปลอดภัย ไร้หนี้สินบานปลาย

2017/02/27 10:22 AM

4,368 Views

บัตรกดเงินสดเป็นการให้บริการด้านเงินสดของสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ที่มีความสะดวก และใช้งานง่าย เพียงลูกค้ายื่นขออนุมัติและได้รับบัตรจากสถาบันการเงิน พร้อมวงเงินที่อนุมัติให้ใช้ลูกค้าก็สามารถนำบัตรนี้ไปกดเงินสดออกมาใช้ได้ง่าย ๆ ด้วยตู้กดเงินอัตโนมัติที่มีให้บริการอยู่ทั่วไป จึงสะดวกและยังสามารถกดเงินได้ออกมาตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดได้ง่าย ๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้บัตรกดเงินสดใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ขาดการวางแผนหรือเตรียมการให้ดี เงินสดที่กู้ออกมาก็อาจกลายเป็นหนี้สินที่ทับถมให้เราย้ำแย่ได้เหมือนกัน เพราะเงินที่กู้ออกมานั้นย่อมมาพร้อมกับดอกเบี้ยและเงื่อนไขในการชำระคืน ซึ่งหากไม่ระมัดระวังเกิดอาการหนี้ทบต้นทบดอกก็จะเกิดปัญหาหนี้สินบานปลายได้ กลายเป็นภาระทางการเงินที่หนักหน่วงให้กับผู้ใช้บัตร

ดังนั้น ในการใช้งานบัตรกดเงินสดผู้ใช้ควรใช้งานอย่างมีสติรอบคอบ ทบทวนถึงความจำเป็นในการใช้เงินก้อนที่กดออกมาเสียก่อนที่จะกู้เงินออกมา เพราะแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในการกดเงินสดจะต่ำกว่าการกดเงินสดด้วยบัตรเครดิต และปลอดภัยกว่าการกู้นอกระบบ แต่ภาระหนี้สินพร้อมดอกเบี้ยก็ยังเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้จนเกินความสามารถในการชำระเงินได้อยู่ดี จึงทำให้ผู้ใช้งานบัตรกดเงินสดในทุกครั้งที่กดรูดเงินออกมา ควรกำหนดวิธีในการชำระเงินก้อนที่กดออกมาด้วยทุกครั้งที่ใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังหรือปัญหาเงินขาดมือในภายหลังได้

นอกจากนี้ผู้ใช้งานควรศึกษาเงื่อนไขการใช้บัตรกดเงินสดให้ดี ก่อนทำสัญญาหรือขออนุมัติการใช้บัตร เพราะสถาบันการเงินแต่ละแห่งนั้น ก็ล้วนแต่มีเงื่อนไขการใช้บัตรกดเงินสดที่แตกต่างกัน ทั้งเงื่อนไขรายได้ของผู้สมัครใช้ วงเงินที่อนุมัติให้กู้ยืมได้ อัตราดอกเบี้ยและวิธีในการชำระ โดยเฉลี่ยแล้วสถาบันทางการเงินจะกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้ขอใช้บัตรอยู่ที่ 15,000 บาท แต่ก็อาจให้วงเงินที่แตกต่างกันไปอาจคำนวณจากจำนวนเท่าของเงินเดือน หรือสรุปออกมาเป็นเงินก้อนเลย ซึ่งผู้ใช้ควรศึกษาดูว่าตรงตามจำนวนเงินที่ต้องการกู้ยืมหรือไม่ เพื่อไม่ให้ต้องกู้ยืมหลายครั้ง ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยมักอยู่ที่ 20 – 28 % แต่อาจมีวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน บางสถาบันนั้นจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ คือ ทุก ๆ ครั้งที่ชำระก็จะคิดเป็นวงเงินต้นและดอกเบี้ยเท่า ๆ กันไปในทุก ๆ ครั้ง ทำให้ทราบวงเงินและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการชำระที่ชัดเจน

แต่บางสถาบันทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบไม่คงที่ กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยจะผันแปรตามวงเงินที่ชำระเข้ามา หากชำระน้อยเงินส่วนหนึ่งจะถูกนำไปคิดเป็นดอกเบี้ยก่อนที่เหลือจึงจะถูกนำออกไปหักจากเงินต้น ในการชำระรอบต่อไป ทางสถาบันก็จะนำเงินต้นที่หักการชำระแล้วมาคิดดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งข้อดีของวิธีการนี้จะเกิดกับผู้ใช้บัตรกดเงินสดที่สามารถชำระได้เร็ว เพราะเงินที่ชำระจะเสียเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ แต่ในทางกลับกันหากผู้ใช้บัตรกดเงินสดไม่สามารถใช้เงินชำระเงินได้รวดเร็ว ดอกเบี้ยที่ถูกนับว่าทบใหม่เรื่อยนี้ก็จะกลายเป็นภาระหนี้สินเพิ่มเติมให้กับผู้ชำระเงินได้เช่นกัน

ดังนั้น ในการกู้ยืมเงินสดออกมาควรอ่านรายละเอียดวิธีในการคิดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ด้วย เพื่อดูความสามารถในการจัดการกับหนี้สินของเรา นอกจากนี้ควรศึกษารายละเอียดด้วยว่าสถาบันการเงินนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยด้วยความถี่มากน้อยเพียงใด เพราะบางสถาบันจะคำนวณดอกเบี้ยทุกวัน ซึ่งสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่รายได้คงที่ไม่มีเพิ่มเติมระหว่างเดือน ก็อาจเกิดปัญหากับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่ม ๆ ขึ้นทุก ๆ วันได้

นอกจากนี้ห้ามคิดว่าบัตรกดเงินสดจะช่วยปลดหนี้ให้เราได้ ผู้ใช้บัตรบางคนคิดว่าการใช้บัตรกดเงินสดก็เหมือนกับการหมุนเงิน เมื่อมีปัญหาทางการเงินกับเจ้าหนี้รายได้ ก็กู้เงินด้วยบัตรกดเงินสดไปโปะลงไปเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หนี้ของผู้ใช้บัตรไม่ได้ลดลงเลย เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนถ่ายมือของเจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งวิธีนี้อาจจะเหมาะในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยโหดและมีวิธีการทวงหนี้ที่รุนแรง แต่ในกรณีที่เป็นสถาบันทางการเงินเหมือน ๆ กัน การหมุนเงินด้วยวิธีนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้บัตรได้เลย ทางที่ดีควรหาวิธีเพิ่มเงินมาใช้ชำระหรือลดรายจ่ายเพื่อให้มีเงินมาชำระได้มากขึ้น จึงจะเป็นวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบัตรกดเงินสดนั้น สามารถให้ได้ทั้งประโยชน์และโทษได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งสำคัญในการใช้บัตรคือความรอบคอบของผู้ใช้บัตรเอง ใช้บัตรเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพราะการใช้บัตรอย่างระมัดระวังก็จะเป็นการช่วยสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี แต่ควรใช้ภายในวงเงินที่สามารถชำระได้จริง ๆ โดยไม่เกิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินตัวหรือเกินภาระในการชำระหนี้ที่มากเกินตัวได้ ควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ทางสถาบันทางการเงินกำหนดไว้ เพราะรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อภาระการเป็นหนี้ของผู้ใช้บัตรกดเงินสดกันทุกคนนั่นเอง การใช้บัตรจึงควรใช้อย่างรอบคอบ ระมัดระวังและกำหนดแผนการชำระเสียก่อนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการใช้งาน

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน