การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเงินกู้

2017/02/24 17:11 PM

3,740 Views

ในยุคปัจจุบันดูเหมือนว่า การกู้เงินจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์เงินเดือนไปแล้ว

แหล่งเงินกู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แหล่งเงินกู้ในระบบที่มีกระบวนการให้กู้ ดอกเบี้ย ตลอดจนถึงวงเงินที่ให้ได้เป็นไปตามกฎหมายทุกอย่าง อีกทั้งยังมีกระบวนการคัดกรองลูกหนี้ที่รัดกุม ดังจะเห็นได้ว่าบุคคลผู้ที่ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่งอย่างชัดเจน ไม่มีเครดิตบูโรที่ดีต่อให้คน ๆ นั้น จะบอกว่าตอนนี้ฉันมีเงินพอที่จะใช้หนี้ แหล่งเงินกู้ในระบบเหล่านี้จะไม่ให้กู้เลยต้องผ่านกระบวนการสร้างเครดิต จึงจะสามารถดำเนินการกู้ได้กับอีกแบบหนึ่ง คือ แหล่งเงินกู้นอกระบบที่เห็นตอนนี้ก็พวก เงินด่วน กู้ได้ทันที ติดต่อ…. ที่มักจะติดอยู่ตามกำแพงหรือเสาไฟฟ้าต่าง ๆ นั่นแหละ พวกแหล่งเงินกู้นอกระบบจะไม่มีกระบวนการคัดกรองลูกหนี้ ใครคิดจะกู้ก็สามารถกู้ได้เลย แค่เตรียมเอกสารอย่างบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เซ็นสัญญาเงินกู้เท่านี้ก็ได้เงินก้อนไปกอดแล้ว

ทว่า การดำเนินการกู้เงินมักจะสร้างปัญหาตามมาให้กับบรรดาลูกหนี้เสมอ ๆ อย่างถ้าเป็นกู้ในระบบอันนี้คงมีปัญหาแค่ตอนดำเนินการกู้เท่านั้น หลังจากนั้นก็เรียกได้ว่าลูกหนี้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเต็มรูปแบบ ถ้าไม่ใช้หนี้ ผู้ที่จะลงดาบ ก็คือ กฎหมายนั่นเอง แต่ถ้าเป็นการกู้นอกระบบอันนี้ถึงจะกู้ได้ แต่ก็สร้างปัญหาใหญ่ตามมานานัปการไม่ว่าจะเป็นการถูกขูดรีดดอกเบี้ย บางแห่งคิดดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด แต่บางแห่งก็คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปเยอะมาก จนบางทีพอเอามารวมกันแล้ว ค่าดอกเบี้ยที่เสียไปเยอะกว่าเงินต้นที่กู้มา 2-3 เท่า เลยทีเดียว แถมบางทีเจ้าหนี้นอกระบบใช้วิธีการทวงหนี้ที่โหดร้าย ป่าเถื่อน ผิดกฎหมาย ลูกหนี้บางรายถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกยึดทรัพย์สินในบ้านไปในลักษณะของการปล้นนี่ยังไม่นับปัญหาสัญญาเงินกู้ที่บางรายเขียนมาอย่างคลุมเครือ ตีความไปได้หลายอย่างมาก ๆ ทั้งที่ความจริง ข้อกำหนดในสัญญาเงินกู้ต้องมีความเที่ยงตรง สามารถทำให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันได้

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เราคงได้เห็นแล้วว่าการใช้บริการเงินกู้ โดยเฉพาะแหล่งเงินกู้นอกระบบ สร้างปัญหาตามมามากมายจริง ๆ ทีนี้ หลายคนคงจะกำลังคิดว่าถ้าเกิดกู้มาแล้ว แล้วเจอปัญหาอย่างที่บอกไปข้างต้นละจะแก้อย่างไรดี

วิธีแรกเป็นวิธีที่เบสิกพื้นฐานที่สุดแล้ว นั่นก็คือ พยายามหาทางใช้หนี้ในแต่ละเดือนให้ได้มากที่สุด เมื่อถึงกำหนดทวงหนี้ เราต้องมั่นใจว่ามีเงินก้อนที่จะนำมาใช้หนี้ได้ ไม่ใช่มัวแต่นิ่งนอนใจ จนพอถึงกำหนดทวงหนี้ ไม่มีเงินไปจ่ายเขา แล้วก็มานั่งดราม่าอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะมันไม่มีประโยชน์ ซ้ำร้าย ทั้งเงินต้น ทั้งดอกเบี้ยจะยิ่งพอกพูนจนวันข้างหน้ามันอาจจะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ใช้ทั้งชาติก็ไม่หมด ก็เป็นได้ หากไม่มีเงินมาใช้หนี้จริง ๆ จงไปดำเนินการพูดคุยกับเจ้าหนี้ให้เรียบร้อย แม้เจ้าหนี้จะหน้าเลือดแค่ไหนก็ช่าง ตัวลูกหนี้อย่างเรา ๆ ต้องหาเหตุผลที่ฟังขึ้น อย่าดราม่าเป็นอันขาด

วิธีแก้ปัญหาวิธีที่สองที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับวิธีแรกมาก ก็คือ อย่าใช้วิธีกู้หนี้ใหม่มาโปะหนี้เก่าเป็นอันขาด เนื่องจากมันไม่ได้ช่วยให้หนี้สินหายไปเลย ซ้ำยังเป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ให้มากขึ้นด้วย อย่าลืมว่าการใช้หนี้สินจากแหล่งเงินกู้ ไม่ใช่ว่ากู้มาเท่าไร ใช้เท่านั้นก็จบกัน มันต้องมีการบวกลบอัตราดอกเบี้ยเข้าไปด้วยทำให้ถ้ายิ่งกู้ใหม่ ยิ่งกลายเป็นการเพิ่มวงเงิน เพิ่มปริมาณหนี้ไปเสียเปล่า ๆ ขอให้ใช้แต่เงินของตัวเอง ในการผ่อนชำระหนี้สินเท่านั้น

การแก้ปัญหาข้อสุดท้าย คือ ถ้าถูกคุกคาม ข่มขู่หรือโดนบุกเข้ามาทำลายข้าวของ ทำร้ายร่างกาย โดยพวกแก๊งทวงหนี้ สิ่งที่ต้องทำ ก็คือ ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันซะ เพราะการทวงหนี้ด้วยวิธีการดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายและเป็นคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้ ต่อให้ตัวเราเป็นลูกหนี้ก็เถอะให้ทำการแจ้งความดำเนินคดีกับแก๊งทวงหนี้ตามกฎหมาย แต่การแจ้งความนี้ ไม่ได้หมายความว่าลูกหนี้อย่างเรา จะเอามาเป็นข้ออ้างเพื่อลบล้างหนี้ได้ ถึงจะแจ้งความดำเนินคดี เราก็ยังมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำการจ่ายหนี้เหมือนเดิมและอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีที่ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยแพงเกินจริง ลูกหนี้อย่างเรา ก็มีสิทธิแจ้งความ ดำเนินคดีเจ้าหนี้ได้ตามกฎหมายเช่นกัน จงใช้สิทธิตัวเองให้เป็นประโยชน์ อย่าคิดแต่ว่าเราเป็นลูกหนี้ เราก็ต้องทนรับชะตากรรมดังนี้ไป เพราะมันไม่มีประโยชน์ ซ้ำร้าย ยังยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหนี้หน้าเลือดไปเอารัดเอาเปรียบคนอื่นซ้ำอีก

การแก้ปัญหาต่าง ๆ อันเกิดจากการใช้บริการเงินกู้ก็คงมีอยู่เท่านี้ อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุด ถ้าไม่อยากจะเจอปัญหาเหล่านี้ ก็คือ อย่าทำการกู้หนี้ยืมสินมาตั้งแต่แรกจงใช้ชีวิตอย่างพอเพียง แต่ถ้ามันจำเป็นจริง ๆ ก็ขอให้เลือกกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ที่ไว้ใจได้เท่านั้น สืบประวัติเยอะ ๆ อ่านสัญญาเงินกู้ให้ละเอียด ไม่เข้าใจสัญญาข้อไหนให้ถามเจ้าหนี้ ณ ขณะนั้นทันที ถ้าเป็นไปได้ อัดเสียงไว้ด้วยก็จะดีมาก อันนี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ลูกหนี้เกิดความเหิมเกริมขึ้นมาแต่อย่างใด แต่เป็นการป้องกันตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบ จากบรรดาเจ้าหนี้หน้าเลือดในภายหลังที่สำคัญไปกว่านั้น ลูกหนี้จะต้องไม่เอาเปรียบเจ้าหนี้จงใช้เงินคืนเขาไปให้ครบทุกบาททุกสตางค์

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน