สิ่งที่เลวร้ายที่สุดหากไม่จ่ายคืนสินเชื่อเงินสดคืออะไร

2017/02/28 10:00 AM

5,055 Views

การทำสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบ้าน รถยนต์หรือสินเชื่อเงินสดเป็นหนึ่งในรูปแบบของเงินกู้ที่ทางธนาคาร หรือทางบริษัทที่ให้บริการด้านสินเชื่อเปิดบริการให้กับลูกค้าที่สนใจนำเงินไปใช้ในการขยายธุรกิจ ใช้เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินหรืออื่น ๆ เป็นต้น

สินเชื่อเงินสดกับบัตรเครดิตนั้นต่างกัน เนื่องจากในบัตรเครดิต เจ้าของบัตรสามารถใช้บัตรเพื่อซื้อสินค้าแทนการจ่ายเงินสดได้ ทางธนาคารเจ้าของบัตรจะมีผลตอบแทนให้คือคะแนนสะสม ซึ่งคะแนนสะสมนี้สามารถที่จะนำไปแลกซื้อสินค้าหรือรับบริการอื่น ๆ ได้ ส่วนสินเชื่อเงินสดจะแบ่งเป็นสินเชื่อประเภทบัตรกดเงินสดที่มีลักษณะเหมือนกับบัตร ATM สามารถใช้กดเงินเพื่อมาใช้ยามจำเป็นได้และสินเชื่อเงินสดทั่วไป ซึ่งตัวสินเชื่อนี้ทางธนาคารผู้ให้กู้จะพิจารณาวงเงินตามฐานรายได้จริงจากการทำงาน หลังจากที่เบิกเงินเรียบร้อยแล้วทางธนาคารที่ให้กู้จะแจ้งบิลมาให้ที่บ้าน เพื่อให้ทราบรายละเอียดในการเบิกเงินของเราแต่ละครั้ง ว่าเบิกไปทั้งหมดเท่าไหร่เพื่อทางผู้ขอกู้จะได้มาติดต่อชำระในครั้งต่อไปได้ ซึ่งในขั้นตอนจ่ายคืนทางลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายแบบเต็มวงเงินหรือเลือกจ่ายเพียงบางส่วน ซึ่งในการชำระคืนนั้นหากชำระไม่เต็มจำนวนทางธนาคารอาจจะมีการคิดดอกเบี้ย ทางสถาบันการเงินจะเป็นคนคิดดอกเบี้ยและแจ้งมาที่ผู้กู้ให้ทราบ ซึ่งดอกเบี้ยของสินเชื่อเงินสดที่ทำกับทางธนาคารจะค่อนข้างสูง หากชำระตามเวลาที่ทางธนาคารกำหนดดอกเบี้ยก็จะมีอัตราเท่ากับที่ผู้กู้ได้ทำสัญญาไว้กับธนาคาร แต่ก็มีผู้กู้หลายคนที่ไม่สามารถชำระเงินตามระยะเวลาที่ทางธนาคารกำหนดได้ เนื่องจากไม่สามารถหมุนเงินได้ตามที่คาดเอาไว้ได้ทันทำให้เกิดผลกระทบที่ค่อนข้างร้ายแรงเกิดขึ้น ดังนี้

1.ดอกเบี้ยทบต้นทบดอกไปเรื่อย ๆ ปัญหานี้ผู้ที่ทำสินเชื่อเงินสดแล้วไม่ได้จ่ายคืนตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรงตามจำนวนที่เบิกไป ส่วนที่เหลือทางธนาคารก็จะคิดเป็นดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยที่ทางธนาคารคิดนั้นจะเริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่เราเริมเอาเงินออกจาบัญชี แล้วทบต้นทบดอกไปเรื่อย ๆ เช่น เราเริ่มถอนเงินออกมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ดอกเบี้ยก็จะเริ่มคิดตั้งแต่วันนั้น เมื่อชำระช้าไป 2 เดือน ทางธนาคารก็จะคิดดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ ทำให้ยอดที่เกิดขึ้นเป็นเป็นจำนวนเงินที่สูงขึ้น บางคนจึงรู้สึกว่าไม่อยากชำระเนื่องจากหนี้ที่มีก้อนใหญ่กว่าเดิมค่อนข้างมา ดังนั้น หากถึงเวลาชำระควรจะชำระเงินให้กับธนาคารโดยเร็ว โดยชำระทั้งยอดที่ทางธนาคารบอก

2.โทรศัพท์ทวงนี้ เป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ขอสินเชื่อเงินสดผิดนัดการจ่ายเงินมาแล้วประมาณ 1-2 เดือน โดยทาง Call Center จะเป็นผู้โทรเข้ามาเพื่อสอบถามการชำระเงิน เนื่องจากมีผู้ขอสินเชื่อบางรายที่มีการชำระให้กับทางธนาคารแล้วแต่ทางธนาคารไม่ได้รับเงินและทางผู้ขอสินเชื่อเองก็ยังไม่ทราบทำให้ทาง Call Center โทรมาเพื่อติดตาม แต่กรณีที่ผิดนัดชำระเงินทาง Call Center จะโทรมาเพื่อติดตามหนี้สิน ซึ่งในกรณีนี้หากมีการข่มขู่หรือพูดจาไม่สุภาพทางผู้ขอสินเชื่อเองก็สามารถแจ้งความขอดำเนินคดีได้เช่นกัน

3.จดหมายเตือน จะถูกส่งมาหลังจากที่ Call Center โทรมาเพื่อติดตามหนี้ ซึ่งในจดหมายเตือนนั้นจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อต้องชำระและแจ้งเกี่ยวกับการดำเนินคดีทางกฎหมาย เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อเข้าใจและรีบชำระหนี้โดยเร็ว หากยังไม่สามารถชำระหนี้ก้อนนี้ได้ ระหว่างที่รอการชำระหนี้นั้นก็ยังไม่สามารถใช้งานบัตรกดเงินสดได้เช่นกัน เนื่องจากทางธนาคารต้องการป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจมียอดเพิ่มขึ้นอีกได้

4.ยื่นฟ้องและดำเนินคดี หลังจากที่ทางธนาคารแจ้งเตือนผู้ขอสินเชื่อไปแล้วและส่งจดหมายเตือนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากผู้ขอสินเชื่อเลย ขั้นตอนต่อมาคือการยื่นเรื่องเพื่อดำเนินคดี ซึ่งทางธนาคารจะส่งจดหมายมาที่ผู้ขอสินเชื่อเพื่อแจ้งให้ทราบและเริ่มดำเนินคดีทันที ซึ่งค่าใช้จ่ายในการยื่นเรื่อง และแจ้งเตือนการเป็นหนี้นั้น ทางธนาคารจะคิดค่าบริการโดยรวมอยู่ในยอดค้างชำระที่ผู้ขอสินเชื่อเป็นหนี้อยู่

5.ติดเครดิตบุโร เป็นสิ่งที่ผู้ขอเงินกู้กับทางธนาคารไม่ต้องการให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดการค้างชำระเป็นเวลานาน หรือไม่ชำระสินเชื่อเงินสดกับทางธนาคาร ผู้กู้รายนั้นจะต้องถูกบันทึกไว้ในเครดิตบูโรและไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่ผ่านธนาคารได้อีก เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ ทำบัตรเครดิต เพราะผู้กู้เคยมีประวัติที่ไม่ค่อยดีนักกับการชำระหนี้ ถือว่าเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุด สำหรับผู้ที่ค้างชำระและถึงแม้ว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะกลับมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารได้อีก

การสมัครสินเชื่อเงินสดเพื่อนำเงินมาใช้ในการขยายธุรกิจ ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในด้านอื่น ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะขอเบิกเงินส่วนนั้นมาใช้สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนัก คือ ความสามารถในการชำระหนี้และผลกระทบที่หากไม่ชำระ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นการดำเนินการเพื่อแก้ไขจะค่อนข้างเป็นไปอย่างลำบาก เช่น การติดเครดิตบูโรในกรณีที่เราไม่ได้ชำระหนี้ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ประวัติทางการเงินไม่ค่อยดี ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธนาคารได้เลย ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดเมื่อเริ่มรู้ตัวว่าไม่สามารถที่จะชำระหนี้สินเชื่อเงินสดได้ ให้หยุดเบิกเงินมาจ่ายและแจ้งทางธนาคารเพื่อขอผ่อนผันการชำระเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหากับตัวเองในภายหลัง

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน