หากไม่จ่ายคืนเงินกู้จะโดนยึดบ้านยึดรถหรือไม่

2017/02/28 9:50 AM

5,092 Views

“สุขใด ไม่เท่ากับการไม่มีหนี้” คงจะเป็นคำกล่าวที่เป็นความจริงแท้ เพราะผู้ที่ไม่มีหนี้จะไม่ต้องเผชิญกับความทุกข์ร้อนเกี่ยวกับเรื่องเงิน ว่าจะต้องหามาให้ทันใช้หนี้และไม่ต้องกังวลว่า ตัวเองจะโดนยึดทรัพย์สินไปเมื่อไร

แต่คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เสถียรภาพทางการเงินเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ต้องมีสักช่วงหนึ่งในชีวิตที่คนเราจะต้องประสบกับปัญหาทางการเงิน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีที่สุด ก็คือ การยืมเงิน กู้หนี้ยืมสิน เอาเงินที่ได้มานั้นมาใช้ไปพลาง ๆ ก่อน รอจนกว่าจะกลับมามีเงินก้อนอีกครั้งหนึ่ง ค่อยเอาเงินส่วนนั้นมาใช้หนี้ให้หมดไป โดยที่การกู้หนี้ยืมสินนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การติดต่อกับพวกหน่วยเงินกู้ทั้งหลาย ทั้งในและนอกระบบ การใช้บัตรกดเงินสดหรือการทำสินเชื่อเงินสด เป็นต้น

เมื่อมีการกู้หนี้ยืมสินในรูปแบบของเงินกู้เกิดขึ้น สิ่งที่ลูกหนี้ลูกคนจะต้องทำในชั้นแรก นั่นก็คือ สัญญาเงินกู้ ซึ่งสัญญาเงินกู้นี้ ในแต่ละหน่วยเงินกู้จะกำหนดเงื่อนไขมาไม่เท่ากัน สมมติว่าหน่วยเงินกู้ A อาจจะระบุดอกเบี้ยไว้ในสัญญาประมาณหนึ่ง แต่หน่วยเงินกู้ B อาจจะระบุอัตราดอกเบี้ยในจำนวนที่สูงกว่าหน่วยเงินกู้ A ก็ได้ อีกทั้งเงื่อนไขการชำระหรือบทลงโทษสำหรับลูกหนี้ที่เบี้ยวเงินกู้ก็ไม่เหมือนกัน บางรายอาจจะระบุโทษมาแค่การให้เสียอัตราดอกเบี้ยแพงกว่าปกติ กี่เท่าก็ว่ากันไป แต่ในบางราย อาจจะลงโทษลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ถึงขั้นยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดหรือฟ้องล้มละลายกันเลยทีเดียว

สัญญาเงินกู้ดังที่กล่าวมาจะมีผลบังคับใช้ทันที ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอมรับเงื่อนไข แล้วจรดปากกาเซ็นชื่อตัวเองลงในสัญญาดังกล่าว บางแห่งอาจจะต้องใช้ผู้ค้ำประกันมาเซ็นร่วมด้วย เอาเป็นว่า หากสัญญาเงินกู้ฉบับนั้นมีลายเซ็นตามที่กำหนดไว้ครบถ้วน ถือว่าบังคับใช้ตามกฎหมายทันที ลูกหนี้จะได้รับเงินก้อนจากแหล่งเงินกู้นั้นไปจำนวนหนึ่ง คราวนี้ หน้าที่การชำระค่าเงินกู้ก็จะตกอยู่กับลูกหนี้คนนั้น หากไม่ยอมชำระค่าเงินกู้ถือว่าผิดสัญญาและเจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะดำเนินคดีกับลูกหนี้ผู้นั้นได้

คราวนี้จะขอกลับเข้าสู่ประเด็นหลักของเราที่ว่าถ้าไม่จ่ายคืนเงินกู้จะถูกยึดบ้านยึดรถหรือไม่ ส่วนนี้คงต้องขอตอบว่า ใช่ แต่ไม่เสมอไป เนื่องจากการยึดบ้าน ยึดรถ ไม่ใช่ว่าแค่เป็นหนี้อย่างเดียว แล้วเจ้าหนี้จะสามารถบุกเข้าไปยึดแบบสุ่มสี่สุ่มห้าได้ การจะทำเช่นนั้นได้ ในสัญญาเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบัตรกดเงินสดหรือสินเชื่อเงินสดจะต้องระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด การฟ้องล้มละลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเงื่อนไขพวกนี้ มักปรากฏอยู่ในสัญญาของเงินกู้ในระบบ แต่ถึงแม้จะมีระบุไว้ ก็ไม่ใช่ว่าเจ้าหนี้จะบุกเข้าไปยึดได้ง่าย ๆ จะต้องมีการดำเนินคดี ฟ้องร้องกันให้เสร็จสรรพจนศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงสามารถยึดบ้าน ยึดรถ ขายทอดตลาดได้

อีกสิ่งหนึ่งที่อยากจะขอให้ทุกคนจำเอาไว้ให้แม่น ๆ เลย ก็คือ หน่วยงานเดียวที่สามารถมายึดรถไปได้ในทันทีแบบถูกต้องตามกฎหมาย มีแค่ไฟแนนซ์อย่างเดียวเท่านั้น พวกแหล่งเงินกู้ทั่วไป ไม่มีสิทธิ์มายึดบ้าน ยึดรถ ตามอำเภอใจได้ ถึงลูกหนี้จะมีดอกเบี้ยเยอะก็เถอะ

ส่วนในกรณีที่ลูกหนี้หลายคน ถูกเจ้าหนี้พาพวกมาที่บ้าน แล้วยึดรถ ยึดบ้าน โยนข้าวของของเราออกมาจากบ้าน โดยอ้างว่าเพราะเราทำผิดสัญญา ไม่ยอมจ่ายเงินกู้ตามกำหนด ซึ่งมักจะเป็นเงินกู้นอกระบบนั้น ขอบอกเลยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในกรณีที่เจ้าหนี้มายึดรถไปโดยพลการจะมีความผิดฐานชิงทรัพย์หรือถ้าเจ้าหนี้พาพวกมายึดบ้าน เจ้าหนี้นั้นย่อมมีความผิดฐานบุกรุก ทำลายทรัพย์สิน ต่อให้อ้างว่าในสัญญามีระบุไว้ว่าลูกหนี้ยอมให้ทำการดังกล่าว ย่อมถือว่าผิดกฎหมายในทุกกรณี เพราะฉะนั้น ลูกหนี้เงินกู้คนใดที่ถูกเจ้าหนี้ยึดบ้าน ยึดรถ โดยพลการดังกล่าว สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ได้ แต่การดำเนินคดีนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้หนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดถูกล้างไป ถึงอย่างไร ตัวลูกหนี้ก็ยังต้องทำการชดใช้หนี้อยู่ดี หากเจ้าหนี้แจ้งความกลับว่าลูกหนี้เบี้ยวเงิน ย่อมเท่ากับว่า ทั้งสองฝ่ายกระทำความผิดกันไปคนละกระทง

หลังจากที่กล่าวมาเสียยืดยาว จึงนำมาเป็นข้อสรุปของประเด็น “ถ้าไม่จ่ายเงินกู้ จะถูกยึดบ้านยึดรถหรือไม่” ว่า ถ้าลูกหนี้เบี้ยว ไม่ยอมจ่ายเงินกู้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์สิน ทั้งบ้านและรถ ของลูกหนี้ แต่ก่อนที่เจ้าหนี้จะทำการยึดได้จะต้องปฏิบัติตามกระบวนการของกฎหมาย มีการแจ้งความ ฟ้องร้องกันเสียก่อน จนกว่าศาลจะตัดสินว่าลูกหนี้มีความผิดให้เจ้าหนี้ดำเนินการตามสัญญาได้ นั่นแหละ เจ้าหนี้จึงจะสามารถยึดบ้าน ยึดรถของลูกหนี้ได้ ไม่ใช่อยู่ดี ๆ เจ้าหนี้ไปพาลูกน้องของตนเองมายึดบ้าน ยึดรถของลูกหนี้โดยพลการถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย ลูกหนี้มีสิทธิ์ที่จะแจ้งความดำเนินคดีได้ เพราะฉะนั้น หากลูกหนี้คนใดถูกกระทำดังเช่นที่ว่าให้ดำเนินการแจ้งความได้เลย

แต่ถึงจะบอกว่า เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์มายึดบ้าน ยึดรถของลูกหนี้โดยพลการ แต่ลูกหนี้ก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจหรือคิดที่จะเบี้ยวหนี้ ขอให้ทำการชำระเงินกู้ให้ครบทุกงวดตามกำหนดทุกครั้ง อย่าหนี อย่าเบี้ยว เพราะถ้าเกิดเจ้าหนี้ดำเนินการตามกฎหมาย ฟ้องล้มละลายลูกหนี้แล้วละก็ สิ่งที่จะตามมามันโหดร้ายยิ่งกว่าการถูกเจ้าหนี้ยึดบ้าน ยึดรถ หลายเท่านัก

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ซิตี้ เรดดี้เครดิต (Citi Ready Credit)Citi Ready Credit

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    24-25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี

บัตรเครดิต

  • ซิตี้ รีวอร์ด (Citi Rewards)Citi Rewards

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี*
    อายุคะแนนสะสม
    ไม่มีวันหมดอายุ
  • ซิตี้ แคชแบ็ก (Citi Cashback)Citi Cashback

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี*
    อายุคะแนนสะสม
    ไม่มีวันหมดอายุ
  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน