มาทำความรู้จักสถาบันการเงิน แหล่งเงินกู้สำคัญของคนไทยกัน

2017/02/22 17:04 PM

4,904 Views

เมื่อพูดถึงสถาบันการเงินคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงธนาคารเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วสถาบันการเงินไม่ใช่มีเฉพาะธนาคาร แต่รวมธนาคารและสถาบันอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารด้วย ธนาคาร บริษัทหรือองค์กรใดที่ทำธุรกิจในเรื่องของการรับฝากเงินจากประชาชนโดยให้ดอกเบี้ย รวมถึงมีการปล่อยเงินกู้ให้กับทั้งประชาชนและภาคธุรกิจด้วย ก็จะเรียกว่าสถาบันการเงินทั้งสิ้น

การทำธุรกิจของสถาบันการเงินนั้นก็เหมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ที่มีเงินและต้องการออมเพื่อให้มีรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยกับผู้ที่ต้องการเงินกู้เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องธุรกิจก็ตาม โดยสถาบันการเงินจะมีรายได้จากดอกเบี้ยที่ให้เงินกู้ยืม เมื่อหักลบกับดอกเบี้ยที่จะต้องให้กับคนที่นำเงินมาฝาก หักกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ที่สุดก็จะเป็นผลกำไรของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ก็คือ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยทั้งหมดอยู่ในการควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปด้วยความถูกต้องและเหมาะสมเรียบร้อย

1.ธนาคารพาณิชย์ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการเงินที่เก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุด ประชาชนทั่วไปรู้จักธนาคารพาณิชย์และรู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารเป็นอย่างดี มีความคุ้นเคยในการเดินเข้าออกเพื่อฝากเงินในบัญชีหรือเพื่อขอเงินกู้ก็ตาม เมื่อดูจากยอดเงินฝากและยอดเงินกู้ของระบบการเงินไทยทั้งระบบ จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์มีปริมาณเงินฝากและเงินกู้มากที่สุด เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินประเภทอื่น ธนาคารพาณิชย์ที่เรารู้จักกันดีก็มี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น ทั้งเงินฝากและเงินกู้ที่ทางธนาคารพาณิชย์มีก็มีทั้งสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบทั้งรายย่อย ขนาดกลางและขนาดใหญ่

2.สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ก็เป็นบริษัททั้งที่เป็นของรัฐและเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายเช่น ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ส่วนใหญ่ก็สามารถรับฝากเงินและสามารถให้เงินกู้ได้เหมือนกับธนาคาร ยกเว้นที่ไม่เหมือนธนาคารก็ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ

3.สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นสถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะของรัฐ เพื่อดำเนินงานตามนโยบายของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ก็เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฯลฯ ซึ่งธนาคารของรัฐเหล่านี้ก็ดำเนินธุรกิจเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ คือ มีการรับฝากเงินและให้ดอกเบี้ย พร้อมทั้งให้เงินกู้ โดยการทำธุรกิจจะเน้นทำตามนโยบายของรัฐบาล อย่างเช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ก็จะเน้นให้เงินกู้กับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า โดยดอกเบี้ยที่คิดก็จะเป็นอัตราพิเศษที่ไม่แพงเหมือนกับกู้จากธนาคารพาณิชย์ แต่เงื่อนไขต่าง ๆ ก็อาจมีมากด้วยเช่นกัน เป็นต้น

เนื่องจากทั้งธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ ของไทยเหล่านี้ต้องดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการเงินมากมายของทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินฝากหรือเงินกู้ จึงถือเป็นกลไกที่สำคัญมากที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน