ไขข้อข้องใจ วิธีคำนวณดอกเบี้ยจากบัตรกดเงินสด

2017/02/27 10:58 AM

31,939 Views

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบัตรกดเงินสด ซึ่งเป็นเงินกู้ประเภทหนึ่งจากสถาบันการเงินหรือธนาคารที่อนุมัติวงเงินสดให้กับลูกค้าเพื่อนำไปใช้ โดยจุดเด่นของเงินกู้ประเภทบัตรกดเงินสด ก็คือ สามารถได้รับวงเงินไปใช้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ใด ๆ ค้ำประกัน และรวมถึงไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันด้วย บัตรกดเงินสดจึงเป็นสินเชื่อหรือช่องทางการได้มาซึ่งเงินก้อนในระบบที่มีคนสนใจและใช้บริการสถาบันการเงินและธนาคารกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

ด้วยการได้มาซึ่งเงินและสามารถรับเงินสดได้อย่างง่ายดาย คือ ด้วยวิธีการกดเงินสดผ่านบัตรกดเงิน หรือบัตรเครดิตได้ที่ตู้เอทีเอ็มทุกที่และทุกเวลา จึงทำให้นำเงินก้อนนี้ออกมาใช้ได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตรกดเงินสดจึงมีความเสี่ยงสูงในการได้รับเงินคืน บัตรกดเงินสดจึงเป็นเงินกู้ในระบบที่มีดอกเบี้ยแพงที่สุด

หลักในการคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดนั้น ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะเริ่มคิดดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อมีการถอนเงินในวงเงินก้อนนั้นออกมาใช้ ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนเงินหรือการกดเงินออกมาใช้ก็ไม่มีการคิดดอกเบี้ยแต่อย่างใด และในการคิดดอกเบี้ยก็จะคิดจากจำนวนของเงินที่ได้ถอนออกมาใช้เท่านั้น ไม่ใช่จากวงเงินที่ได้รับการอนุมัติในบัญชีและการคิดอัตราเงินกู้จากบัตรกดเงินสดจะคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันไม่ใช่รายเดือนอย่างสินเชื่อชนิดอื่น ๆ

การคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ดอกเบี้ยในรูปแบบบัตรกดเงินสดจะถูกคิดตาม rate ที่พิจารณาต่างกัน โดยคำนึงถึงกลุ่มฐานรายได้ของตัวลูกค้าเอง หรือจากกลุ่มลักษณะของบัตรและวงเงินที่ทางธนาคารและสถาบันการเงินเจ้าของบัตรอนุมัติ ดังนั้น ดอกเบี้ยของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป แต่มักจะอยู่ในอัตราที่ 24%-28% ต่อปี คือ ไม่เกิน 28% ต่อปี

ดังนั้น การกดเงินสดออกมาใช้จากวงเงินในบัตรกดเงินสด จึงต้องมีการคำนวณดอกเบี้ยให้ดี เพื่อที่จะได้บริหารการเงินและการชำระเงินคืนได้อย่างถูกต้อง เริ่มจากการทราบสูตรการคำนวณดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด ซึ่งมีสูตรดังนี้

(จำนวนเงินที่กดเงินสด X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันที่กู้ยืมนับตั้งแต่วันที่กดเงินสดจนถึงวันที่สรุปยอดบัญชีของแต่ละธนาคาร) / 365

ยกตัวอย่างเช่น หากมีการกดเงินสดออกมาใช้จำนวน 9,000 บาท โดยสมมติว่านโยบายเรื่องบัตรกดเงินสดของธนาคารนั้น มีอัตราดอกเบี้ยที่ 28% / ปี หากกดเงินสดมาใช้ในวันที่ 1 มีนาคม และมีวันสรุปยอดบัญชีในวันที่ 5 เมษายน นับรวมได้ 36 วัน การคำนวณดอกเบี้ยรอบปัจจุบันจะสรุปได้ดังนี้

( 9,000 X 28% X 36 ) / 365 = 248.55 บาท

ในกรณีที่มีการชำระเงินเข้ามาจำนวนหนึ่ง บัตรกดเงินสดส่วนใหญ่ของสถาบันการเงินต่าง ๆ มักจะมีการคำนวณโดยวิธีลดต้นลดดอก คือ เมื่อชำระเข้ามาส่วนหนึ่ง เงินก้อนที่ชำระเข้ามาจะถูกหักไปเป็นเงินต้นส่วนหนึ่งและดอกเบี้ยส่วนหนึ่ง เงินต้นคงเหลือที่ยังไม่ได้ชำระ ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะนำเงินก้อนนั้นมาคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ลดลงก็จะลดดอกเบี้ยที่ต้องชำระลงด้วย ดังนั้น ดอกเบี้ยในแต่ละเดือนที่ชำระเข้าจึงแตกต่างกัน

ท่านที่สนใจข้อมูลรายละเอียดการคำนวณดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดสามารถศึกษารายละเอียดตัวอย่างวิธีการคิดดอกเบี้ยในกรณีต่าง ๆ ได้ที่ตัวอย่างตาม Link นี้
https://www.ktc.co.th/th/ktc/IndividualCustomers/PersonalLoans/InterestRate/InterestRateCashRevolve/

ข้อควรคำนึงในการใช้บัตรกดเงินสดเกี่ยวกับเรื่องของดอกเบี้ย ก็คือ หากมีการชำระเงินในจำนวนเต็มเมื่อครบ 1 รอบบิลที่ได้กดออกมา ทางสถาบันการเงินหรือธนาคารก็จะคิดคำนวณดอกเบี้ยพร้อมทั้งเงินต้นหยุดเพียงเท่านั้น ซึ่งก็ไม่นับว่าเป็นจำนวนเงินที่สูงนัก แต่หากผู้ใช้บัตรเลือกชำระในวิธีผ่อนชำระเพียงจำนวนหนึ่ง ดอกเบี้ยก็จะถูกคิดไปทุก ๆ วัน ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระคืน แต่เมื่อวันที่มีการชำระเงินจำนวนหนึ่งเข้ามาในระบบแล้ว การคำนวณเงินดอกเบี้ยก็จะหยุดที่วันนี้ที่ชำระเลยทันที หากชำระเพียงส่วนหนึ่ง ดอกเบี้ยอัตราและจำนวน ณ วันที่กดเงินออกมาก็จะหยุดลงและเริ่มคำคำนวณใหม่หลังจากที่ได้หักดอกเบี้ยเก่ารวมถึงเงินต้นในจำนวนที่ชำระมา และเริ่มคิดใหม่จากเงินต้นในอัตราใหม่ในวันถัดมา ดังนั้น ผู้ใช้บัตรจึงไม่จำเป็นต้องรอให้ครบถึงรอบบิลและรอบิลเรียกเก็บเงินสรุปยอดแจ้ง แต่สามารถโทรสอบถามหรือชำระเข้าไปทางธนาคารหรือสถาบันการเงินได้โดยทันที เพื่อดอกเบี้ยจะได้ลดลงทันทีในวันถัดมา

เกร็ดอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าสำคัญแต่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ทราบมาก่อนจึงได้ละเลย ก็คือ การชำระเงินกู้ บัตรกดเงินสดนั้น เมื่อมีการชำระ ณ เคาน์เตอร์เซอร์วิสต่าง ๆ การชำระจะมีผลไม่ใช่โดยทันทีเหมือนการชำระ ณ เคาน์เตอร์ของธนาคารหรือสถาบันการเงินโดยตรง ซึ่งปกตินั้นถ้าชำระกับเคาน์เตอร์ธนาคารโดยตรง เงินจะถูกบันทึกเข้าสู่ระบบและมีการคิดคำนวณเงินรอบต่อไปในอัตราใหม่ในวันรุ่งขึ้นทันที แต่ถ้าชำระกับเคาน์เตอร์เซอร์วิสอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของสถาบันการเงินหรือธนาคารเจ้าของบัตร การเคลียริ่งยอดเงินที่ชำระเข้ามาครั้งนั้นจะใช้เวลาอยู่ที่ ประมาณ 3 วันทำการ ในระหว่าง 3 วันนั้นก็เท่ากับว่ายังไม่ได้ชำระเงินเข้ามานั่นเอง ดังนั้นทางที่ดีก็คือจะต้องสอบถามทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสดังกล่าวถึงระยะเวลาการเคลียริ่งเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารนั้น ๆ ให้ดีด้วย และคำนวณอัตราของอีกสามวันที่จะต้องใช้ระยะเวลาเคลียริ่งเผื่อเอาไว้ด้วยนั่นเอง

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน