สาระความรู้เกี่ยวกับการอนุมัติเงินกู้ของสถาบันการเงิน

2017/02/24 17:12 PM

4,034 Views

ความต้องการในการใช้บริการเงินกู้มีสาเหตุหลัก ๆ 3 ประการ คือ การกู้เงินเพื่อใช้ในการซื้อสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เครื่องจักรในการทำงาน เป็นต้น การกู้เงินเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน สถานประกอบการ เป็นต้น และการขอกู้เงินเพื่อการลงทุนทำธุรกิจ รวมถึงการต่อยอดหรือขยายธุรกิจด้วย

ผู้ขอกู้เงินมักจะเขียนและเสนอความต้องการในการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินโดยเขียนตามความต้องการของผู้กู้เป็นหลัก ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและพิถีพิถันในการปล่อยเงินกู้ให้กับลูกค้า เนื่องจากสถาบันทางเงินมีความสามารถในการปล่อยเงินกู้ให้กับลูกค้าได้ในจำนวนเงินและวงเงินที่จำกัด นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังต้องพิจารณาลูกค้าที่มีความสามารถในการผ่อนคืนหรือชำระหนี้ได้ด้วย

ดังนั้น หากเราต้องการให้การยื่นเรื่องขอใช้บริการเงินกู้สำเร็จ เราต้องมองในมุมของสถาบันการเงินหรือธนาคารด้วยว่าสถาบันการเงินมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการปล่อยเงินกู้อย่างไร จะทำให้เราเข้าใจและได้รับการอนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่สถาบันการเงินหรือธนาคารใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ คือ จำนวนเงินที่ผู้กู้ต้องการขอกู้ การขอจำนวนเงินกู้ควรพิจารณาให้ดี ไม่ควรขอมากเกินกว่าที่ต้องการใช้จริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงินขึ้นภายหลัง

ระยะเวลาในการชำระเงินกู้มักเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างผู้กู้กับสถาบันการเงิน ผู้กู้ควรคำนึงถึงความสามารถในการหาเงินมาผ่อนชำระเงินกู้ด้วย เพื่อให้ได้ระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินกู้ที่เหมาะสม และไม่ควรเร็วหรือช้าเกินไป ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนทำธุรกิจใหม่อยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี ส่วนธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ อยู่มานาน มีผลการดำเนินงานที่ดี และความสัมพันธ์ที่ดีทางด้านการเงินกับธนาคาร อาจมีระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ที่นานกว่า สำหรับการขอเงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ควรเลือกระยะเวลาในการผ่อนชำระที่นานไว้ก่อน หากมีรายได้เหลือเราสามารถผ่อนกับธนาคารมากกว่าที่ตกลงกันไว้ได้

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สถาบันการเงินให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เปรียบเสมือนเป็นกำไรของสถาบันการเงิน ธนาคารขนาดใหญ่มักมีการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ต่ำกว่าธนาคารขนาดเล็ก เนื่องจากธนาคารขนาดเล็กมีข้อจำกัดในการรวบรวมเงินทุน และมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่ แต่ธนาคารขนาดเล็กมีตัวช่วยในการปล่อยเงินกู้และสามารถเข้าถึงผู้กู้ได้ง่ายกว่า

สถาบันการเงินจะพิจารณาการอนุมัติเงินกู้โดยดูจากจำนวนเงินที่ผู้กู้สามารถผ่อนชำระคืนต่อเดือนด้วย เนื่องจากเงินที่ผู้กู้สามารถผ่อนชำระคืนต่อเดือนจะเป็นเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารที่ธนาคารสามารถนำไปใช้ลงทุนต่อ เพื่อให้เกิดดอกออกผล หากผู้กู้ผ่อนชำระเงินกู้คืนต่อเดือนเป็นจำนวนเงินน้อย ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยแพงกว่า เพื่อทดแทนกับค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนต่อเพื่อแสวงหากำไรของธนาคาร

ในส่วนของมูลค่าของหลักประกัน ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะนำไปใช้ในการพิจารณาในเรื่องของวงเงินกู้ เนื่องจากหากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ ธนาคารจะยึดหลักประกันของผู้กู้และนำไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชดเชยกับเงินที่ธนาคารปล่อยกู้ไป ดังนั้น มูลค่าของหลักประกันจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับวงเงินที่ผู้กู้จะได้รับการอนุมัติจากธนาคาร โดยทั่วไปธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ตั้งแต่ 60%-150% ของมูลค่าหลักประกัน หลักประกันที่สถาบันการเงินหรือธนาคารยอมรับว่ามีมูลค่าและน่าเชื่อถือที่สุด คือ ที่ดินและสถานที่ประกอบการ เป็นต้น

รายรับหรือรายได้สุทธิต่อเดือนของผู้กู้มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร เนื่องจากธนาคารต้องใช้ข้อมูลรายได้ของผู้กู้เพื่อคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผู้กู้ต้องมีการเดินบัญชีรายรับและการใช้จ่ายเงินของบริษัทให้ดี มีความต่อเนื่องและมีความสม่ำเสมอ หากผู้กู้เข้าใจความต้องการของธนาคารและนำมาปรับรวมให้เข้ากับความต้องการในการใช้บริการเงินกู้ของผู้กู้ จะช่วยให้ธนาคารมีความมั่นใจในตัวผู้กู้ และอนุมัติการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้กู้ได้ง่ายขึ้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารตั้งและกำหนดไว้ ธนาคารก็ทำเพื่อความอยู่รอดของตัวธนาคารเองด้วย ดังนั้น หากเราและธนาคารมีความเข้าใจและมั่นใจกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะทำให้สามารถผ่านไปได้ด้วยดี

หลังจากที่ผู้กู้ได้รับการอนุมัติวงเงินกู้เรียบร้อยแล้ว ผู้กู้ต้องมีวินัยในการผ่อนชำระเงินกู้สำหรับการผ่อนชำระเงินกู้ ผู้กู้ที่กู้เงินเพื่อซื้อสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์และผู้กู้ที่กู้เงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดหรือที่อยู่อาศัย ผู้กู้ควรเลือกแผนการชำระเงินที่มีระยะเวลายาวและมีจำนวนเงินที่ไม่เป็นภาระแก่ตัวผู้กู้มากจนเกินไป หากในแต่ละเดือนผู้กู้มีรายได้เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ผู้กู้สามารถผ่อนชำระต่อเดือนเป็นจำนวนที่มากกว่าที่ตกลงกันไว้กับธนาคารได้ หากผู้กู้เลือกแผนการผ่อนชำระคืนเงินกู้ที่มีระยะเวลาสั้น และมีจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนเป็นจำนวนมาก หากมีช่วงเวลาที่ผู้กู้ติดขัดทางการเงินและไม่สามารถผ่อนชำระต่อเดือนได้ตามจำนวนที่ตกลงไว้กับธนาคาร จะทำให้ผู้กู้เสียเครดิต เนื่องจากผู้กู้ผิดข้อตกลงและสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่บัตรกดเงินสด เอมันนี่
  • Citi Ready Credit
  • Citi Personal Loan
  • KTC Proud
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน