ข้อควรรู้กฎหมายทวงหนี้สำหรับผู้ใช้สินเชื่อเงินสด

2017/02/27 11:03 AM

6,371 Views

ในทุกวันนี้คนจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่หันมาใช้บริการเงินกู้ของสินเชื่อในรูปแบบสินเชื่อเงินสด ทั้งที่เป็นแบบสินเชื่อเงินสดเงินก้อนและสินเชื่อเงินสดในลักษณะบัตรกดเงินสด ซึ่งสินเชื่อเงินสดเหล่านี้ออกให้โดยสถาบันการเงินและธนาคารต่าง ๆ

สินเชื่อเงินสดที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน นับว่าเป็นสินเชื่อที่อยู่ในระบบและอยู่ภายใต้เงื่อนไขการคุ้มครองของกฏหมาย ทั้งฝ่ายสถาบันผู้ออกเงินให้กู้และฝ่ายลูกค้าหรือลูกหนี้สินเชื่อเงินสด ซึ่งแตกต่างจากการมีหนี้นอกระบบที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ควบคุมและคุ้มครองจากกฎหมายได้เลย การเป็นเจ้าของบัตรสินเชื่อเงินสดหรือวงเงินสินเชื่อเงินสด เมื่อได้ใช้เงินในวงเงินหรือในบัตรกดเงินไปแล้วก็เท่ากับว่าได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือธนาคารนั้น ๆ แล้ว

เมื่อเกิดการผิดนัดชำระเงินตามกำหนดเวลานัดหมาย จากข้อกำหนดและข้อตกลงกับทางสถาบันการเงินหรือธนาคารแล้ว หลายคนที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อเงินสดก็อาจจะเกิดความกังวลใจถึงการติดตามไถ่ถามหรือทวงหนี้ขึ้น ดังนั้น การรู้ถึงข้องกฎหมายเกี่ยวกับการทวงหนี้สำหรับสินเชื่อเงินสดไว้นั้น ก็จะทำให้ทราบถึงสิ่งที่ทั้งทางเจ้าหนี้ คือ สถาบันการเงินหรือธนาคารว่าสามารถปฏิบัติต่อลูกหนี้อย่างไรได้หรือไม่ได้บ้างและมีขอบเขตแค่ไหน

เริ่มจากข้อห้ามที่ควรรู้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากจดหมายเวียนที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นจดหมายเวียนในหัวข้อ แนวการปฏิบัติเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ โดยเป็นฉบับที่ 46/2550 มีใจความดังนี้
1. ห้ามทวงหนี้กับบุคคลที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้เองและต้องปกปิดรักษาความลับของลูกหนี้
2. เวลาของการทวงหนี้ วันธรรมดา คือ 08.00น-20.00น และในวันเสาร์อาทิตย์ทวงหนี้ได้ในเวลา 08.00 น-18.00 น
3. ทั้งวิธีการและคำพูดในการใช้ติดตามทวงถามนั้น ต้องสุภาพเหมาะสมและต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ไม่สร้างความเดือดร้อนและความรำคาญ เช่น ระยะเวลาในการโทรติดต่อซ้ำ ๆ กันตลอดทั้งวันหรือใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ขู่ หยาบคายหรือเป็นการประจาน เพราะเป็นการรบกวนสิทธิของลูกหนี้
4. หากลูกหนี้มีการปฎิเสธการชำระหนี้ก็ให้ยุติการทวงถามหนี้และให้ใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. ในมาตรา 5 เป็นขั้นตอนต่อ ๆ ไป
5. ทั้งสถาบันการเงินและธนาคารจำเป็นจะต้องรับผิดชอบในสถาบันทวงหนี้ที่ตนจ้าง เมื่อมีการละเมิดสิทธิของลูกหนี้ ไม่ต่างกับการไปทวงหนี้เอง
6 สถาบันการเงินหรือธนาคารจะต้องเลือกหน่วยงานที่รับทวงหนี้ที่เหมาะสมมีศีลธรรมและมีการเก็บข้อมูลการทวงหนี้อย่างเป็นระบบ เช่น การบันทึกเสียงสนทนาในระหว่างการติดตามทวงหนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
7. สถาบันการเงินหรือธนาคารต้องมีระบบและนโยบายในการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้จากลูกหนี้
8. ต้องมีระบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการทวงหนี้ ทั้งอุปสรรค ความคืบหน้าต่าง ๆ ต่อผู้บริหารให้รับทราบด้วย

โดยทั้งหมดของข้อปฎิบัติเหล่านี้ หากมีธนาคารหรือสถาบันการเงินใดละเมิด อาจจะถูกทางธนาคารแห่งประเทศไทยเพิกถอนใบอนุญาตหรือมีการปรับได้

นอกจากข้อกำหนดบังคับจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ด้านกฎหมาย พรบ.เกี่ยวกับการทวงหนี้ก็มีข้อควรรู้ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ที่มาทำหน้าที่ทวงหนี้จะต้องแจ้ง ชื่อ นามสกุลและอธิบายถึงเจตนาที่จะมาถามข้อมูลจุดประสงค์เพื่อติดต่อกับตัวลูกหนี้
2. ห้ามใส่ ชื่อธุรกิจหรือข้อความและสัญลักษณ์ของผู้ทวงหนี้บนซองจดหมาย
3. การได้มาซึ่งข้อมูลของลูกหนี้ต้องไม่เป็นการล่อหลอกเอาข้อมูล
4. หากมีการกระทำรุนแรง ข่มขู่ ทำร้ายทำลายทรัพย์สินและร่างกายลูกหนี้ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาทหรือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำและปรับ
5. ถ้ามีการเปิดเผยการเป็นลูกหนี้ของเราให้คนอื่นรู้จะตองโทษ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำและปรับ
6. การทวงหนี้ผ่านทางไปรษณีย์หรือแฟกซ์ ถ้ามีข้อความชัดเจนในการทวงหนี้ก็ต้องโทษ จำคุก 1 ปี หรือถูกปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำและปรับ

นอกจากนั้นการทวงหนี้โดยการล่อหลอกให้เข้าใจผิดก็ยังทำให้ทางฝ่ายลูกหนี้สามารถเอาผิดผู้ทวงหนี้ได้เช่นกัน ในกรณีที่
1.การส่งเอกสารหรือจดหมายที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่ามาจากศาล เช่น อาจจะใช้ตราครุฑก็เป็นการละเมิดกฎหมายต้องโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำและปรับ
2.เช่นกันกับกรณีแรกหากมีการส่งหนังสือให้เข้าใจผิดว่าเป็นหนังสือจากทนายความโดยไม่ใช่ความจริงก็ต้องโทษ ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำและปรับ
3. ส่งเอกสารล่อหลอกว่าลูกหนี้ได้ถูกฟ้องดำเนินคดีหรือกำลังถูกยึดทรัพย์ก็มีโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือทั้งจำและปรับ
4. การอ้างว่าเป็นการการทวงหนี้มาจากบริษัทข้อมูลบัตรเครดิตก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือจำคุก 3 ปีหรือทั้งจำและปรับ
5. ห้ามไม่ให้เก็บค่าธรรมเนียมหรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทวงหนี้เกินอัตราที่กำหนด
6. มีการเสนอให้ลูกหนี้ชำระโดยการจ่ายเช็คโดยรู้ก่อนอยู่แล้วว่าลูกหนี้ไม่มีความสามารถจะทำได้ก็จะถูกปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุก 1 ปี หรือทั้งจำและปรับ

เมื่อลูกหนี้รู้ถึงข้อบังคับและข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วก็คงจะเบาใจ เมื่อเกิดเหตุการณ์ถูกทวงถามหนี้ เพราะจะทราบถึงขอบเขตที่เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติได้และไม่ถูกเอาเปรียบในการทวงถามหนี้อีกต่อไป

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • A money
  • สินเชื่อ พรอมิส
  • Citi Ready Credit
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน