ประเภทของเงินกู้มีอะไรบ้าง

2017/02/28 8:23 AM

18,781 Views

เงินกู้ ก็คือ เงินที่ลูกหนี้ไปกู้ยืมเจ้าหนี้มาพร้อมกับสัญญาว่าจะจ่ายคืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ โดยมีกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายคืนให้กับเจ้าหนี้ด้วย เงินกู้มีหลากหลายประเภทมากขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการแบ่งประเภทของเงินกู้นั้น ๆ

เงินกู้ในระบบ VS เงินกู้นอกระบบ

•เงินกู้ในระบบ เป็นเงินกู้ที่เจ้าหนี้เป็นธนาคาร สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เงินกู้ในระบบเป็นการกู้เงินที่อยู่ภายใต้กฎหมาย มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้จะต้องปฏิบัติ การกู้เงินในระบบจะต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะของการเงินกู้ในระบบจะมีความเป็นมาตรฐาน ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่มีใครเป็นฝ่ายได้เปรียบเสียเปรียบ
•เงินกู้นอกระบบ เป็นเงินกู้ที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ไปทำการตกลงเพื่อกู้ยืมเงินกันเอง แม้มีการทำสัญญาเงินกู้แต่รายละเอียดในสัญญาก็เป็นข้อกำหนดที่เจ้าหนี้มักกำหนดขึ้นมาเอง การกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่แล้วลูกหนี้มักตกอยู่ในภาวะจำยอมเนื่องจากไม่สามารถกู้เงินที่มีความเป็นมาตรฐานมากกว่าในระบบได้ จึงต้องยอมกู้เงินนอกระบบที่บางครั้งอาจไม่เป็นมาตรฐาน คิดดอกเบี้ยแพงและถูกเจ้าหนี้เอาเปรียบได้

เงินกู้เพื่อธุรกิจ VS เงินกู้ลูกค้าบุคคล
หากแบ่งเงินกู้ตามวัตถุประสงค์ในการขอกู้แบบกว้าง ๆ ก็จะแบ่งเงินกู้ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เงินกู้เพื่อธุรกิจ และ เงินกู้ลูกค้าบุคคล

•เงินกู้เพื่อธุรกิจ เป็นเงินกู้ที่ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ในการขอกู้เพื่อนำเงินไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ รูปแบบของเงินกู้เพื่อธุรกิจก็มีการแยกย่อยลงไปอีก เช่น วงเงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว สินเชื่อเพื่อ SME เงินกู้เพื่อการส่งออก เป็นต้น

•เงินกู้ลูกค้าบุคคล เป็นเงินกู้ที่ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินชีวิต เงินกู้ลูกค้าบุคคลมีหลายรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น เงินกู้เพื่อซื้อบ้าน เงินกู้เพื่อซื้อรถยนต์ เงินกู้เพื่อซ่อมแซมบ้านหรือเป็นสินเชื่อเงินสด เช่น เงินกู้อเนกประสงค์ สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ฯลฯ

เงินกู้แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน VS เงินกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
หากจะแบ่งประเภทของเงินกู้ออกตามหลักทรัพย์ค้ำประกันจะแบ่งเงินกู้ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เงินกู้แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและเงินกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

•เงินกู้แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นเงินกู้ที่ลูกหนี้ใช้หลักทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ มักเป็นเงินกู้ที่มีวงเงินจำนวนมากมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาสูง เช่น บ้าน รถยนต์ ก่อสร้างโรงงาน เป็นต้น เงินกู้ประเภทที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันนี้มักจะมีดอกเบี้ยต่ำกว่าแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เนื่องจากความเสี่ยงของเจ้าหนี้มีจำกัด หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นมาขายเพื่อชำระหนี้ได้

•เงินกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นเงินกู้ที่เจ้าหนี้ให้กู้โดยที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจากลูกหนี้ การให้กู้เงินแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันนี้มักเป็นสินเชื่อที่ให้ในวงเงินที่ไม่มากนัก เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น และเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทำให้เจ้าหนี้ต้องรับความเสี่ยงมากขึ้นหากลูกหนี้เบี้ยวไม่ชำระหนี้คืน ดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้คิดจึงต้องคิดในอัตราที่สูงมากเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่มากขึ้นนี้ด้วย

เงินกู้ระยะสั้น VS เงินกู้ระยะยาว
หากแบ่งประเภทของเงินกู้ออกตามระยะเวลาในการให้กู้ยืมก็จะแบ่งเงินกู้กว้าง ๆ ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เงินกู้ระยะสั้นและเงินกู้ระยะยาว

•เงินกู้ระยะสั้น เป็นเงินกู้ที่เจ้าหนี้ให้กู้ยืมในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมากมักไม่เกินกว่า 1 ปี หรือสินเชื่อที่ให้กู้ยืมเป็นวงเงิน เมื่อลูกหนี้ใช้วงเงินไปสามารถนำมาคืนเต็มวงเงินหรือจ่ายขั้นต่ำก็ได้ เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เป็นต้น ดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะสั้นจะเป็นดอกเบี้ยคงที่ ๆ มีอัตราในการคิดที่แน่นอน

•เงินกู้ระยะยาว เป็นเงินกู้ที่มีระยะเวลาในการชำระคืนที่ยาวเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป อาจเป็นการคืนครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดสัญญาหรือแบ่งคืนเป็นงวด ๆ ก็ได้ เช่น เงินกู้ระยะยาวเพื่อธุรกิจ เงินกู้ซื้อบ้าน เงินกู้ซื้อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น ดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะยาวที่คิดมักใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เนื่องจากในระยะเวลาที่ยาวมาก เจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่สามารถคาดการณ์ภาวะดอกเบี้ยในอนาคตไกล ๆ ได้ การเลือกใช้ดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ทำให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ เงินกู้ระยะยาวบางประเภทอาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ในระยะเริ่มต้น เช่น 1-3 ปี และหลังจากนั้นจึงค่อยใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็มีให้เห็นเช่นกัน เช่น เงินกู้ซื้อบ้าน

เนื่องจากเงินกู้นั้นมีหลากหลายประเภทอย่างที่แจกแจงไว้ข้างต้น ดังนั้น ในฐานะของลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้ เราควรต้องหันกลับมาพิจารณาวัตถุประสงค์ในการใช้เงินของเราด้วยว่าใช้เพื่ออะไร เพื่อให้สามารถพิจารณาขอเงินกู้ได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการมีวงเงินที่เป็นสินเชื่อเงินสดเผื่อใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน ไม่ได้ต้องการใช้เงิน ณ ขณะนี้เลยทันที ควรเลือกสมัครสินเชื่อเงินสดแบบที่เป็นวงเงิน เช่น บัตรกดเงินสด เพราะหากไม่กดเงินสดมาใช้ก็ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยก็ตามบัตรกดเงินสดยังเป็นทางเลือกให้ลูกหนี้สามารถคืนเงินทั้งก้อนได้ทันทีหรือจะเลือกผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ โดยไม่ให้ต่ำกว่าขั้นต่ำรายเดือนที่กำหนดไว้ก็ได้เช่นกันแต่มีเรื่องดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องพิจารณาและทำความเข้าใจก่อนที่จะเลือกจ่ายแบบขั้นต่ำ แต่หากเป็นสินเชื่อเงินสดประเภทสินเชื่อบุคคลธรรมดาก็จะเหมาะกับลูกหนี้ที่ต้องการใช้เงินสดทันทีและต้องการจ่ายคืนเป็นงวด ๆ ตามกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เป็นต้น

บัตรกดเงินสด

  • บัตรกดเงินสด เอมันนี่ (A money)A money

    รายได้ต่อเดือน
    5,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    17-25%
  • ยูโอบี แคชพลัส (UOB Cash Plus)UOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    25%
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี
  • บัตรกดเงินสด เคเคพี แคชการ์ด (KKP Cash Card)

    รายได้ต่อเดือน
    10,000 บาท
    ดอกเบี้ยต่อปี
    ไม่เกิน 25%

บัตรเครดิต

  • UOB PrivimilesUOB

    รายได้ต่อเดือน
    70,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Lady’s PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • UOB Preferred PlatinumUOB

    รายได้ต่อเดือน
    15,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมรายปี
    ฟรี มีเงื่อนไข
    อายุคะแนนสะสม
    2 ปี (นับตั้งแต่วันที่บันทึกรายการ)
  • A money
  • สินเชื่อ พรอมิส
  • Citi Ready Credit
  • Krungsri First Choice VISA

กลับสู่ด้านบน